Back กลับ
Double Day วันแห่งการแข่งขันของนักการตลาด แต่คุ้มค่ากับการลงทุน

Double Day วันแห่งการแข่งขันของนักการตลาด แต่คุ้มค่ากับการลงทุน

Double Day วันแห่งการแข่งขันของนักการตลาด แต่คุ้มค่ากับการลงทุน

27 ม.ค. 2565

ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน วงการอีคอมเมิร์ซในประเทศจีน มีกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของคนในประเทศ ด้วยการจัด Special Campaign ครั้งใหญ่ของปี ในช่วงวันที่ 11 พฤศจิกายน (11.11) ของทุกปี โดยมีที่มาจากวันคนโสด (Single Day) ที่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซใช้เป็นลูกเล่นทางการตลาด กระตุ้นให้คนไม่มีคู่ ซื้อความสุขให้ตัวเองด้วยสินค้าเล็กๆ น้อยๆ ส่งท้ายปี

 

หลายปีผ่านไป ความนิยมของ Special Campaign 11.11 ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่ในประเทศจีนเท่านั้น แต่กลายเป็นสิ่งที่วงการอีคอมเมิร์ซทั่วโลกนำไปใช้ จน Special Campaign ได้กลายมาเป็นสิ่งที่แบรนด์ และนักการตลาดให้ความสนใจ เกิดเป็นแคมเปญ Double Day ที่ทุกแบรนด์ รวมถึงแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ จัดขึ้นเป็นประจำแทบทุกเดือน ตั้งแต่ต้นปียันท้ายปี เช่น 3.3, 4.4 ลากยาวไปจนถึง 12.12

 

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ นักการตลาด จำเป็นที่จะต้องใช้งบประมาณด้านการตลาดออนไลน์จำนวนมาก เพื่อร่วมลงเล่นในแคมเปญ Double Day ทำให้นักการตลาดบางรายเริ่มตั้งคำถามว่า “การลงเล่นในแคมเปญ Double Day คุ้มค่าหรือไม่?” บทความนี้จะชี้ให้เห็นถึงข้อดี ข้อเสียของการเป็นส่วนหนึ่งในสนาม Double Day รวมถึงข้อแนะนำที่จะทำให้แบรนด์บรรลุเป้าหมายจากแคมเปญระดับโลกนี้

 

 

แคมเปญ Double Day มีข้อดี ที่นักการตลาดไม่ควรมองข้าม

 

อย่างไรก็ตาม การที่นักการตลาดมองข้ามแคมเปญ Double Day เพียงเพราะต้องใช้งบประมาณด้านการตลาดออนไลน์มากกว่าช่วงเวลาปกติอาจไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เพราะในความจริงแล้ว แคมเปญ Double Day มีข้อดีจำนวนมากที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับนักการตลาดได้

 

  1. พลังของ Media มีมหาศาล 
    การทำแคมเปญ Double Day จะช่วยสร้างการรับรู้ (Awareness) เพิ่มการมองเห็น (Impression) และทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักได้อย่างต่อเนื่องจากการบอกต่อ (Share of Voice) ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากพลังของ Media ที่มีอย่างมหาศาล
     

  2. ช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย 
    การทำแคมเปญ Double Day มีข้อดีในฐานะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย และช่วงชิงส่วนแบ่งยอดขาย (Market Share) จากแบรนด์อื่นๆ ที่มีสินค้าในลักษณะเดียวกันได้ 
     

  3. ปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 
    จากการเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค และผู้ใช้ Social Media ชาวไทย พบว่า ปริมาณการจับจ่ายใช้สอย (Spending) ในช่วงนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด และจะลดลงในทันทีหลังจากผ่านช่วงแคมเปญ Double Day ไปแล้ว แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ มีความตั้งใจที่จะรอซื้อสินค้าที่ตัวเองอยากได้ ในช่วงแคมเปญ Double Day

 

ทั้ง 3 ข้อนี้ เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า นักการตลาดไม่สามารถมองข้ามการทำแคมเปญ Double Day ได้เลย แม้ว่าการทำแคมเปญ Double Day จะมีต้นทุนที่สูงมากกว่าปกติ แต่ก็คุ้มค่ากับการลงทุน 

 

 

ข้อระวังที่นักการตลาดควรรู้ หากคิดจะลงสู่สนาม Double Day 

 

ในอีกด้านหนึ่ง ไม่ใช่ทุกแบรนด์ที่ลงสู่สนาม Double Day แล้วจะประสบความสำเร็จ หากมองข้ามข้อระวัง หรือปัจจัยความเสี่ยงในแคมเปญระดับโลกนี้ไป

 

  1. พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคเปลี่ยนไป 
    แม้ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะมีการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้น และจะลดลงทันทีเมื่อผ่านช่วงเวลาแคมเปญ Double Day ไปแล้ว แม้ในมุมหนึ่งจะเป็นข้อดีที่ทำให้แบรนด์ขายสินค้าได้มากขึ้นในช่วงแคมเปญ Double Day

    ในอีกมุมหนึ่งหมายความว่าผู้บริโภคตั้งใจรอที่จะซื้อสินค้าในช่วงเวลาที่จัดโปรโมชั่นเท่านั้น หากไม่มีโปรโมชั่นที่น่าดึงดูดใจก็จะไม่ซื้อ ทำให้นักการตลาดต้องทำการบ้านต่อว่าจะมีกลยุทธ์อย่างไรในการดึงดูดให้ผู้บริโภคซื้อสินค้านอกเหนือจากช่วงที่จัดแคมเปญ Double Day
     

  2. การทำแคมเปญ Double Day ‘ต้นทุน Media’ สูงกว่าปกติ
    ต้นทุนที่ว่านี้คือต้นทุน Media ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในช่วงแคมเปญ Double Day จากความต้องการในการซื้อพื้นที่โฆษณาใน Social Media และการบูสต์โพสต์อย่างมหาศาลของแบรนด์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ตามหลักของ ความต้องการซื้อ (Demand) และความต้องการขาย (Supply) ทั่วไป

    ลองนึกภาพตามง่ายๆ ว่า ระบบการซื้อโฆษณา และบูสต์โพสต์บนแพลตฟอร์ม Social Media จะใช้หลักการที่เรียกว่า Bidding Audience เสมือนการประมูลกลุ่มเป้าหมาย (Audience) ที่มีความสนใจในคำ (Keyword) ที่นักการตลาดต้องการ ซึ่งหาก Audience คนใดมีความสนใจ หรือมีพฤติกรรมตามที่นักการตลาดต้องการเป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้การซื้อโฆษณา และบูสต์โพสต์มีราคาแพงขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ 

    หากยกตัวอย่างให้ชัดเจนขึ้น เช่น ในช่วงเทศกาลตรุษจีน พ่อค้าแม่ค้าขายผลไม้จำนวนมาก มีความต้องการจะโปรโมทผลไม้ของตัวเองผ่าน Social Media ทำให้ร้านค้าผลไม้เหล่านี้ต้องใช้วิธีการบูสต์โพสต์ หรือซื้อโฆษณาด้วยการเลือกกลุ่มเป้าหมาย (Audience) ที่มีความสนใจในหัวข้อเกี่ยวกับ “ส้ม”, “ผลไม้มงคล” หรือ “ผลไม้” เหมือนๆกัน นำมาสู่การแข่งขันราคา (Bidding) เพื่อให้ได้พื้นที่สื่อใน Social Media มาครอบครอง นั่นหมายความว่า Audience ที่มีความสนใจเหล่านี้ ก็จะมีราคาสูงขึ้นไปตามความต้องการด้วยเช่นกัน

 

ทำแคมเปญ Double Day อย่างไรให้ได้ผลลัพธ์ดี

 

หลังจากที่นักการตลาดได้รู้ถึงข้อดี และข้อควรระวังในการทำแคมเปญ Double Day เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าสิ่งที่นักการตลาดอยากรู้เพิ่มเติมคือจะมีกลยุทธ์ในการทำแคมเปญ Double Day อย่างไร จึงจะได้ผลลัพธ์ทางการตลาดที่ดีที่สุด และในขณะเดียวกันก็ช่วยลดต้นทุนทางการตลาดได้ด้วย

 

  1. โปรโมชั่นต้องน่าดึงดูด
    แม้ว่าแคมเปญ Double Day จะเป็นเรื่องของการใช้จ่ายงบประมาณด้านการตลาดไปกับ Media แต่สิ่งสำคัญที่นักการตลาดควรพิจารณาเพิ่มเติม คือการใช้กลยุทธ์ออกโปรโมชั่นที่น่าดึงดูดใจ ทั้งการลด แลก แจก แถม ควบคู่กันไป เพื่อดึงความสนใจจากผู้บริโภค และกลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดการบอกต่อ (Share of Voice) ในที่สุด
     

  2. คอนเทนต์ต้องน่าสนใจ
    การทำแคมเปญ Double Day นอกจากเรื่องโปรโมชั่นที่ต้องน่าดึงดูดใจแล้ว คอนเทนต์ ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะสร้างความสำเร็จให้กับแบรนด์ได้ เพราะปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการที่แบรนด์จะสามารถสร้างการรับรู้ การมองเห็น และยอดขายได้ การทุ่มเงินงบประมาณไปกับ Media เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่คอนเทนต์ที่ทำจะต้องมีความน่าสนใจตั้งแต่ต้น จึงจะช่วยดึงดูดให้ผู้ที่รับชมกลายเป็นผู้บริโภคที่ซื้อสินค้า หรือทำให้แบรนด์บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดอื่นๆ ตามที่ได้ตั้งใจไว้

 

ทั้ง 2 กลยุทธ์ข้างต้นนี้ จะทำให้การทุ่มเงินงบประมาณด้านการตลาดสำหรับแคมเปญ Double Day ในแต่ละเดือน มีความ ‘คุ้มค่า’ มากขึ้น และมี Return of Investment (ROI) อยู่ในระดับดี ทำให้ต้นทุนในภาพรวมของการทำแคมเปญ Double Day ต่ำลง แม้แบรนด์ หรือนักการตลาดจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีการแข่งขันสูงกว่าช่วงเวลาปกติก็ตาม

 

 

กลยุทธ์สร้างความต่างจากคู่แข่ง ด้วย Influencer

 

การสร้างความแตกต่าง เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่นักการตลาดควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในช่วง Double Day เพราะอย่าลืมว่าในช่วงที่ทุกแบรนด์ต่างลงสนามนี้ ด้วยการลด แลก แจก แถม เหมือนๆ กันหมด นักการตลาดจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อส่งมอบความแตกต่าง และแปลกใหม่ให้กับผู้บริโภค

 

การใช้ Influencer Marketing สามารถสร้างความต่างให้กับแบรนด์ ในช่วง Double Day ได้แน่นอน นอกจากจะสามารถสร้างการรับรู้ ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักจาก Share of Voice ที่ส่งออกไปแล้ว ยังช่วยเพิ่มปฎิสัมพันธ์ และยอดขายให้กับแบรนด์ ผ่านการทำหน้าที่เป็นนักรีวิว ช่วยแนะนำสินค้า ให้ข้อมูลในเชิงลึก จนนำไปสู่การกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดการตัดสินใจซื้อ เรียกได้ว่า Influencer เป็นได้ทั้งสื่อ (Media) และเครื่องมือในการขาย (Sales Tool) นั่นเอง

 

หากแบรนด์ หรือนักการตลาดเลือกใช้ Influencer เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดในช่วงแคมเปญ Double Day และสามารถจัดสรรงบประมาณด้านการตลาดส่วนหนึ่งให้กับ Influencer Media ได้ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสการขาย และเพิ่มความสนิทสนมให้กับลูกค้าได้ มากกว่าการบูสต์โพสต์ และซื้อโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับโปรโมชั่นเพียงอย่างเดียว

 

เมื่ออ่านมาจนถึงจุดนี้ นักการตลาดน่าจะรู้แล้วว่าแคมเปญ Double Day ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว หรือควรหลีกเลี่ยงอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงมือทำ เพราะแบรนด์ จะได้ผลลัพธ์เป็นการรับรู้ และสร้างความเป็นที่รู้จักได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อรวมกับปัจจัยด้านโปรโมชั่น และความน่าดึงดูดของตัวผลิตภัณฑ์จะทำให้ Return of Investment (ROI) หรือต้นทุนที่ต้องใช้มีความคุ้มค่าไม่ต่างจากการทำแคมเปญในช่วงเวลาปกติ

 

หากแบรนด์ หรือนักการตลาดสนใจที่จะทำแคมเปญ Double Day โดยใช้กลยุทธ์ Influencer Marketing ซึ่ง Tellscore เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญ เป็นตัวช่วยเพิ่มการรับรู้ สร้างปฎิสัมพันธ์ นำสู่ยอดขาย สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://th.tellscore.com/th 

หรือโทร 02 160 5020

 

Tellscore ใช้คุกกี้ 🍪 เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมที่นี่