สถิติวงการ Content Creators/ Influencers ที่นักการตลาด สื่อรุ่นใหม่ และครีเอเตอร์ต้องรู้ 2024/2025
ปี 2024 เป็นปีที่น่าสนใจมากๆ ในแง่ของวงการเนื่องจากเป็นปีที่เห็นการแข่งที่สูงขึ้นมากในหมู่ครีเอเตอร์ด้วยกันเอง
ปี 2024 เป็นปีที่น่าสนใจมากๆ ในแง่ของวงการคอนเทนต์ครีเอเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์ เนื่องจากเป็นปีที่เห็นการแข่งที่สูงขึ้นมากในหมู่ครีเอเตอร์ด้วยกันเอง ต่างต้องแย่งชิงคู่สายตาและการสะกดนิ้วคนดู แต่ในขณะเดียวกันขนาดตลาดคอนเทนต์ครีเอเตอร์ก็ยังเติบโตต่อเนื่องจากหลายปัจจัย และจำนวนครีเอเตอร์หน้าใหม่ก็ยังหลั่งไหลเข้ามา เรามาดูสถิติที่น่าสนใจที่เทลสกอร์ (Tellscore) ขอคัดมาให้เห็นเน้นๆ เพื่อประกอบภาพ และหาคำตอบร่วมกันว่าทำไมในยุคที่เศรษฐกิจฝืดเคืองการตลาดอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้งจึงยังเติบโตสวนกระแส
- จำนวน Content Creators/ Influencers ในไทยที่เป็น Full-time คือทำงานคอนเทนต์เป็นแหล่งรายได้หลักมีประมาณ 2 ล้านคน (YDM) และถ้ารวม Part-time Content Creators/ Influencers ซึ่งทำงานด้านคอนเทนต์เป็นแหล่งรายได้เสริม เช่น กลุ่ม Micro-influencers ที่มีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียไม่มากนัก อยู่ในช่วง 1,000-20,000 Followers, และบุคคลใดๆ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ที่เคยสร้างรายได้จากการผลิตคอนเทนต์ (Aspiring content creators) รวมแล้วจะอยู่ที่ 9 ล้านคน ตัวเลขจากการ cross reference ของข้อมูล (Linktree Creator Report, Hubspot & mention Global Social Media Trends Report 2024, American Influencer Council’s 2nd Annual Creator Economy Trend Report)
- จำนวน Content Creators ทั่วโลกอยู่ที่ 200 ล้านคน จากจำนวนประชากรโลกที่ 7,000 กว่าล้านคน (Influencer Marketing Hub)
- ขนาดตลาด Content Creators/ Influencers ในไทยปี 2024 ประมาณการอยู่ที่ 45,000 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาแยกตัวออกจากตลาด Digital Ad ชัดเจนขึ้นทุกขณะ ในขณะที่ขนาดตลาด Content Creators ทั่วโลกปี 2024 ประมาณการที่อยู่ที่ 5.5 ล้านล้านบาท หรือ $156.37 billion USD และจากข้อมูลความร่วมมือของ AIS กับนักวิชาการด้าน Creator Economy, Professor David Craig จากสหรัฐอเมริกา เผยข้อมูลระบุว่าขนาดตลาด Content Creators ทั่วโลกอาจใหญ่ถึง 16 ล้านล้านบาท ($480 billion USD) ในปี 2030 โดยยังไม่ได้รวมตลาดจีน (Goldman Sachs, ExplodingTopics, Professor David Craig via AIS)
- 69% ของแบรนด์ในปี 2024 มีการเพิ่มงบ Influencer Marketing ต่อเนื่องมาจากปีก่อน (Aspire)
- 82% ของแบรนด์ระบุว่าได้ผลลัพธ์ทางการตลาด เช่น ด้านยอดลูกค้าลงทะเบียน (Lead generation) ดีกว่าจากวิธีการโฆษณา หรือวิธีทำการตลาดอื่นๆ (Influencer Marketing Hub)
- 63% ของผู้บริโภคมีแนวโน้มจะซื้อสินค้าบริการจากคำแนะนำของอินฟลูเอนเซอร์ที่ตนรู้จักและเชื่อใจ (Traackr)
- 80% ของผู้บริโภคในเอเชีย ที่มีการติดตามอินฟลูเอนเซอร์ มีแนวโน้มจะซื้อสินค้าที่แนะนำโดยอินฟลูเอนเซอร์เหล่านั้น (Nielson, Rakuten)
- 55% ของผู้บริโภคระบุว่าส่วนลด และโปรโมชั่น ทำให้พวกเขาติดตามอินฟลูเอนเซอร์ ครีเอเตอร์ (Sprout Social)
- ตลาด Content Creators/ Influencers เติบโต 20-30% ต่อปีเฉลี่ยทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย (Deloitte)
- จำนวนผู้ใช้ Social Media ในไทย: 50 ล้านคน (71.5% จากประชากรไทย) จากจำนวนประชากรไทย 70 กว่าล้านคน (สดช. หรือ ONDE)
- ประเทศไทยมีพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดีย และการใช้เวลาในโลกออนไลน์สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยใช้ระยะเวลาบนอินเทอร์เน็ตต่อวันอยู่ที่ 7 ชั่วโมง 25 นาที และการจ้างงานธุรกิจดิจิทัลสูงถึง 35.96% (สดช. หรือ ONDE)
- คนไทยวัยทำงานส่วนใหญ่ 67% ทำงานเงินเดือน ชน เงินเดือน เนื่องจากเศรษฐกิจซบเซา ดังนั้นแหล่งรายได้เสริมจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับพวกเขา (Deloitte)
- 30-40% ของคนรุ่นใหม่ระบุว่าตนเองก็เป็น Content Creators คนหนึ่ง จากการศึกษา 30% ของคนอายุ 18-24, และ 40% ของคนอายุ 25-34 คิดเช่นนั้น (State of consumer trends report 2024 by Hubspot & Glimpse)
- ปี 2024 เป็นปีที่ Content Creators ทั่วโลกหันมาเป็น Full-time Content Creators กันมากขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้หนึ่งในเหตุผลหลักคือการ Lay-off จากบริษัทยักษ์ใหญ่ และบริษัทด้านเทคโนโลยี (Creator Economy 2024 Report by Convert Kit, Euro News)
- ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา Google รายงานว่ามีคนค้นหาคำว่า “Influencer Marketing” เพิ่มขึ้นถึง 1500% (Google)
- TikTok แพลตฟอร์มเดียวสร้างงานและรายได้ให้คอนเทนต์ครีเอเตอร์/อินฟลูเอนเซอร์ในประเทศฝรั่งเศสมากถึง 55,000 ล้านบาทในปี 2023 (Statista) - - *ฝรั่งเศษ GDP ใหญ่กว่าไทย 5 เท่า แต่มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียน้อยกว่าไทย 8%
- YouTube แพลตฟอร์มเดียวสร้างงานและรายได้ให้คอนเทนต์ครีเอเตอร์/อินฟลูเอนเซอร์ในประเทศเยอรมันมากถึง 45,000 ล้านบาทในปี 2021 (Statista) - - *เยอรมัน GDP ใหญ่กว่าไทย 8 เท่า แต่มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียน้อยกว่าไทย 1.5%
-
User Generated Content (UGC or Paid UGC) คือคอนเทนต์ที่ผลิตเกี่ยวกับสินค้าบริการต่างๆ ส่วนมากโดยคนที่ไม่มีชื่อเสียง เช่นลูกค้า ตลอดจน Micro-influencers, Micro-creators ต่างๆ กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากแบรนด์ต่างๆ ต้องการความหลากหลายของคอนเทนต์ที่เพิ่มขึ้น และผู้บริโภคเองก็เช่นกัน (Hootsuite, Influencer Marketing Hub) - ความแตกต่างระหว่าง UGC กับ Influencer Marketing
-
เมื่อพูดถึง AI, นักการตลาด 43.8% มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางจริยธรรมจากการใช้ AI influencers ในแคมเปญของพวกเขา ในขณะที่ 31.7% คิดว่าข้อได้เปรียบหลักของการทำงานร่วมกับ AI influencers คือการที่พวกเขาสามารถควบคุมข้อความที่ต้องการสื่อสารได้มากขึ้น (Influencer Marketing Hub)
จากสถานการณ์ที่เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวและมีการปลดพนักงานในบริษัทใหญ่ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ทำให้หลายคนหันมามองหารายได้เสริม ส่งผลให้จำนวนครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในประเทศไทยอาชีพครีเอเตอร์กลายเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อรายได้และปากท้องของคนจำนวนมาก และยังเป็นเครื่องมือสำคัญทางการตลาดและการสร้าง Soft Power ที่วัดผลได้ทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามการแข่งขันในการดึงดูดความสนใจจากผู้ชมก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
ภาพรวมคือนักการตลาดมีตัวเลือกในการทำงานกับครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ที่หลากหลายขึ้น และตลาดคอนเทนต์ครีเอเตอร์ยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าความต้องการดิจิทัลคอนเทนต์ยังสูง อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ที่ได้ผลลัพธ์การตลาด มากกว่าการเน้นเพียงยอดวิวหรือยอดไลก์ และความโปร่งใสเกี่ยวกับที่มาของข้อมูล (Source & Ownership), ตัวตนของผู้ผลิตคอนเทนต์ (Authenticity) และการเปิดเผยถึงการใช้ AI (AI governance) จะเป็นสิ่งที่สำคัญมากขึ้นทุกวัน ทั้งในฝั่งของแบรนด์ผู้จ้าง และตัวอินฟลูเอนเซอร์ ครีเอเตอร์เอง
อัพเดทสถานการณ์ร่วมกันอย่างต่อเนื่องที่ Tellscore.com หรืออีเมล์ contact@tellscore.com